วันอาทิตย์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2565

น้ำใจสร้างคน

 

...

 

มีหญิงสาวคนหนี่ง ด้วยฐานะยากจนเธอจึงมาทำงานในเมืองด้วยอาชีพรับจ้าง ใครจ้างอะไรก็ทำ วันหนึ่ง..มีคนจ้างไปซักผ้าผู้หญิงพึ่งคลอด  เป็นครอบครัวมีฐานะ เค้าจ้างให้ซักผ้าอ้อม 5 วัน เพราะแม่บ้านเค้าลากลับบ้านด่วนขณะซักผ้าอยู่   แม่สามีแม่ลูกอ่อนได้มายืนดูการซัก ผ้าเหมือนเฝ้ากลัวจะขะโมยของ  กระทั่งวันสุดท้าย อยู่ๆเค้าก็มาบอกว่า...

ตุ้มหูทองเค้าหาย ขอค้นตัวแต่ไม่เจอ "ถ้าแกเอาไปก็เอาคืนมา  ถ้าตุ้มหูฉันไม่เจอ ฉันจะไม่ให้เงินค่าจ้างแก?? "

"ฉันไม่ได้ขโมยนะคะ   คุณยืนเฝ้าตลอดเวลา  จะไปเอาตอนไหน??"

เรื่องถึงประมุขของบ้าน.. "เอาเงินให้เค้าไป"...

 ประมุขของบ้านสั่งภรรยาโยนเงิน 150 หยวนลงพื้น

ประมุขของบ้านไม่พูดอะไร

มองคนโยนเงินแล้วค่อยๆก้มลงเก็บเงินให้คนรับจ้างซักผ้า ควักเพิ่มอีก 500 หยวน

"เธอฟังฉันนะ   จริงอยู่เธอยากจนในวันนี้ แต่มันก็ไม่ได้หมายความว่า ต่อไปเธอจะไม่มีเหมือนเรามีในวันนี้...ทุกอย่างต้องใช้เวลา  ใช้ความอดทน,ความขยันและอดออม   อายุเธอยังน้อยเธอถูกล่าวหาว่าขโมยตุ้มหูเมียฉัน ฉันมองแล้ว  เธอไม่มีสันดานแบบนั้นหรอก เงิน 500 หยวนมันจะเป็นเงินทุนให้เธอได้ลืมตาอ้าปากได้หากเธอมีพรสวรรค์และพรแสวง 

เงินนี้มันจะทำให้เธอเหมือนเดิมหากเธอเก็บไว้เฉยๆ เงินนี้มันจะพาเธอสบายหรือลำบาก     ขึ้นอยู่กับการใช้

เลือกเอาจะทำงานต่ำต้อยตลอดไป  หรือจะกล้าได้กล้าเสียเพื่ออนาคตที่ดีกว่านี้!!!  ไปได้ ขอบใจที่มาช่วย"

นางกำเงิน 650 หยวน คิดวนไปเวียนมา...ว่าประมุขบ้านนี้กำลังสื่ออะไร ท้องก็ร้องหิวก็หิว หนาวก็หนาว

ในเมืองนี้  ไม่มีขายอาหารที่บ้านนางมีเลย  

นางหิวมากและอยากกินเหลือเกิน.

นางเดินเข้าร้านขายบะหมี่  

ขอซื้อบะหมี่สักชามแก้ความหนาวหน่อยเถอะ

ได้บะหมี่ชามใหญ่ใสๆน้ำซุปกลมกล่อมก็จริง...

แต่สู้ของที่บ้านนางไม่ได้เลย อร่อยกว่าเยอะ

กินไปก็คิดถึงคำพูดของนายท่านนั้นไปด้วย 

หัวคิด  ปากเคี้ยว ตามอง หม้อก๋วยเตี๋ยว 

การตีแป้ง   อุปกรณ์ไม่เยอะ

ทำคนเดียวได้นี่ ปิ๊งงงง!!!

ลงทุนซื้อหม้อ 3 ใบ ไม่ถึง 100 หยวน   จาน ชาม ตะเกียบและอุปกรณ์ต่างๆไม่น่าเกิน 50 หยวน

เราถูกแม่เคี่ยวเข็ญให้นวดแป้ง จนรู้เทคนิคการทำให้แป้งเหนียวนุ่ม เรามีสูตรของครอบครัวเราใครมากินก็ชม

ว่าอร่อย ซุปหม้อแรกทำแบบทุกคนที่นี่กิน  ซุปหม้อที่ 2 ทำซุปของหมู่บ้านเรากิน     อีกหม้อควรเป็นน้ำซุปตระกูลเรากิน...

ว่าแล้วนางก็รีบกิน กินแล้วนางก็ตรงดิ่งไปตลาดซื้อ  หม้อ 3 ใบ กระทะใหญ่ 1 ใบ เตา 4 อัน   ชามก๋วยเตี๋ยวเลือกขนาดใหญ่สีน้ำเงินแพงนิดหน่อยแต่สวยดีซื้อมา 30 ใบ ตะเกียบ 100 คู่ เครื่องปรุงก๋วยเตี๋ยว  แป้งพริกแห้ง น้ำมันและอื่นๆหมดเงินไป 220 หยวน

ได้ของครบ ของได้แล้วแต่ร้านยังไม่ได้ทำไงดี??

 นางเดินหาร้าน 2 วัน เจอร้านหนึ่งเปิดให้เช่า

ค่าเช่า100 หยวนต่อเดือน   ร้านเล็กๆ แต่สภาพยังดี  

ทำความสะอาดให้ดีๆ แล้วซื้อโต๊ะ-เก้าอี้ไม้ไผ่วางได้

6 โต๊ะ เก้าอี้ได้ 24 ตัว  มีเด็กสาวมาขอทำงานด้วย ช่วงที่นางกำลังทำความสะอาดร้าน  นางก็กำลังต้องการคนช่วยพอดี  จึงให้เดือนละ 50 หยวนก่อน.. หากขายดีค่อยจ้างประจำและเพิ่มคน

นางตกแต่งร้านด้วยมือนางเอง.. ใช้เวลาตกแต่งร้าน 1 อาทิตย์ใช้ไม้ไผ่มาขัดแล้วแขวนไว้ปกปิดรอยดำของผนัง 

มีพริกแห้ง ข้าวโพดแห้ง หัวหอมมัดประดับไว้และถือเป็นที่เก็บไปด้วยเลย

กลางวันจัดร้าน กลางคืนเคียวน้ำซุปเข้มข้น และทดลองกินดู นางทำก๋วยเตี๋ยว..  แม่นางได้ชิม ก็บอกเสมอว่าอร่อย

เมื่อถึงเวลาเปิดร้าน นางไปจ้างให้เค้าเขียนป้ายให้10 แผ่น เอาไปแปะทั่วตลาด

"ร้านบะหมี่พื้นเมืองเปิดใหม่ ฟรี  บะหมี่รสชาติฉงชิ่ง  เผ็ดเข้มหายหนาว"

ได้ผลคนมาทานบะหมี่ที่ร้านจนนางทำไม่ทัน    บะหมี่หมดภายในครึ่งวัน     

ลูกน้องนางแนะนำให้ทำเพิ่มอีก แต่นางไม่ทำ "วันนี้เราขายได้ 100 ชาม ฟรี 100 ชาม  

เราจะทำโปรแบบนี้อีก 7 วัน "   บะหมี่ราคาชามละ 1.5 หยวน  ต้นทุนไม่ถึง 0.5 หยวน  คนได้กินบะหมี่รสชาติจัดจ้านแล้วของหมู่บ้าน และอีกรสชาติเข้มข้นของครอบครัวเรา  7 วันนี้คงทำให้คนเปิดใจทานรสชาตินี้ได้แน่ๆ  

เราต้องไม่ขี้เหนียวน้ำซุป ใครๆก็ทานได้อิ่ม...เปิดได้ 10 วันนางก็คืนทุนทั้งหมดที่ลงไป 

แต่นางก็ยังไม่เพิ่มปริมาณของ  แต่ลูกค้านางเพิ่มทุกวันและซุปหมู่บ้านนางขายดีมาก  ยิ่งวันไหนหนาวๆยิ่งขายดีมาก 

นางรับคนงานชายเพิ่มอีก 1 คน    และเพิ่มค่าจ้างให้เด็กสาวที่มาช่วยนางปรับจ้างเดือนละ 80 หยวนกินกับนาง

ทุกวันนางให้พิเศษลูกจ้าง ด้วยการให้ห่อบะหมี่กลับบ้านได้คนละ 2 ห่อ    คนงานชายหน้าที่นวดแป้ง   ทำเส้นให้นางที่หลังบ้าน ดูน้ำซุป คนงานหญิงล้างจานเสริฟ ส่วนตัวนางเองทำทุกอย่าง กิจการรุ่งเรืองมากคนรอเข้าแถวกินบะหมี่นาง

นางไม่ได้แถมบะหมี่แล้วก็จริง.แต่นางแถม ถั่วต้มเค็มบนโต๊ะ ถ้วยเล็กๆมันได้ผลมาก ลูกค้าติดใจถั่วต้มเค็มนาง

แล้ววันหนึ่งคนที่นางรอคอยก็มายืนตรงหน้านาง...

"ได้ยินข่าวว่าบะหมี่หมู่บ้านนี้รสชาติจัดจ้านมาก

ขอสักชามนะ"  นางโค้งตัวรับคำสั่งแล้วทำอย่างสุดใจ   

นางทำมาทั้งหมดที่นางมี 3 น้ำซุปในร้าน ท่านค่อยๆดื่มน้ำซุปของนางไปอย่างอร่อย

"เหนื่อยมั้ย??"   คำถามสั้นๆแต่รู้สึกอบอุ่นไปถึงสะดือ

นางกำ 650 หยวนไว้ในมือยื่นให้ท่านดู

นางแจงไปว่าหลังจากที่ลงทุนทุกอย่าง  นางเหลือเงินในมือ 80 หยวน จ่ายค่าเช่า 2 เดือน  

เหมือนเงินที่ท่านให้มาลงทุนหมดหน้าตัก    ไม่คิดว่าจะขายไม่ดีเพราะเชื่อมั่นว่า

ตัวเองทำอร่อยทำเหมือนที่ตัวเองกิน    เน้นความสะอาด เน้นให้เค้าอิ่ม  เน้นให้เค้ามาได้บ่อยๆ

และเพิ่มเติมความรู้สึก ด้วยการให้ของเล็กๆน้อยๆ เช่น ถั่วต้มเค็ม

นอกจากจะได้ถั่วต้มเค็มแล้วคนขายถั่วยังปลูกผักชีให้ด้วย   รับซื้อผักจากเค้าทั้งหมด  เค้าจะล้างมัดให้เรียบร้อยแล้วถึงเอามาส่ง  ลูกน้องก็เลี้ยงไก่มาขายให้ทำน้ำซุป     ร้านขายแป้งก็จะมาส่งแป้งถึงที่   คนส่งแป้งขอให้ภรรยามาทำงานด้วย

ช่วยล้างจาน และทำความสะอาดร้านให้  เพราะนางพูดไม่ได้ หนูรู้สึกดีใจที่หนูหัวเดียวกระเทียมลีบแต่มีคนช่วยเหลือหลายคน

ท่านกล่าวว่า

" ยินดีด้วยที่ประสบผลสำเร็จนะ  รักษาความสำเร็จนี้ไว้ให้ได้   อดออมและยื่นโอกาสให้คนอื่นถ้ามีกำลังและโอกาส    

ฉันให้เธอในวันนั้นเพราะฉันดูมือเธอ ซักผ้ามากมายแต่มือไม่แตก   แสดงว่าเธอรู้จักดูแลตัวเอง  ผิดกับคนบ้านนอกคนอื่นที่สกปรกไม่รู้จักดูแลตัวเอง    ความสำเร็จนี้มาจากเธอฉันแค่ยื่นโอกาสให้เธอเท่านั้น    แต่การเดินไปมันคือหน้าที่ของเธอต่างหาก"

ท่านจ่ายค่าบะหมี่ 100 หยวน

 "แม้เธอจะคิดว่าฉันมีบุญคุณต่อเธอก็ตาม   เมื่อเธอเปิดกิจการ ฉันมาอุดหนุนเธอ มาให้กำลังใจ

ไม่ได้ต้องการมากินฟรี  ฉันต้องการมาอุดหนุน และที่ฉันให้เธอ 100 หยวน  เพราะจะแสดงให้เธอรู้ว่า   

ค้าขายต้องซื่อสัตย์ ต้องรู้จักให้ อย่าคิดแต่จะเอา  ฉันสั่งก๋วยเตี๋ยวชามเดียวแต่เธอทำให้ 3 ชาม   แสดงว่าเธอใจกว้าง เก็บ 100 นี้ไว้     มันคือเงินของเมียฉันที่เค้าว่าเธอขโมยตุ้มหู  เค้าละอายใจ  เค้าพบตุ้มหูแล้ว

ราคาตุ้มหู 50 หยวน  แต่เค้าจ่ายให้เธอ 95 หยวนอีก 5 หยวนคือค่าบะหมี่เธอ"

นางขายบะหมี่จนตั้งตัวได้  มีสามีแต่ไม่มีลูก  ปัจจุบันอายุ 80 ปีแล้ว กิจการตกทอดให้กับเด็กสาวที่

มาของานทำในวันนั้น    บะหมี่ฉงชิ่ง ณ อำเภอฉางผิง อาตี๋เล่าประวัติของญาติห่างๆของคุณย่าให้ฟัง  แม่เลยเอามาถ่ายทอดให้คนได้อ่านยาวๆๆ

จากไลน์ -/2/2564


ไม่มีความคิดเห็น: